ขั้นตอน จดทะเบียน รถยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

ขั้นตอน จดทะเบียน รถยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

คุณสมบัติของรถยนต์ไฟฟ้าในการจดทะเบียน

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้าต้องมีคุณลักษณะ เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด ดังนี้

ขนาดสัดส่วนของรถ

ขนาดสัดส่วนของรถต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง กําหนด ลักษณะ ขนาดหรือกําลังของเครื่องยนต์และของรถที่จะรับจด ทะเบียนเป็นรถประเภทต่างๆ พ.ศ. 2548

 

ชนิดรถ ขนาด กว้าง X ยาว X สูง
จักรยานยนต์ ไม่เกิน 1.1 X 2.5 X 2 เมตร
รถยนต์สาธารณะ ไม่เกิน 2.5 X 6 X 2 เมตร
รถยนต์สีล้อเล็กรับจ้าง ไม่เกิน 1.5 X 4 X 2 เมตร
รถยนต์ส่วนบุคคล (เกินเจ็ดและไม่เกินเจ็ดคน) ไม่เกิน 2.55 X 12 X 4 เมตร (กรณีกว้างไม่เกิน 2.3 ม. ให้มีความสูงได้ไม่เกิน 3.2 บ.)
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ไม่เกิน 2.55 X 12 X 4 เมตร (กรณีกว้างไม่เกิน 2.3 ม. ให้มีความสูงได้ไม่เกิน 3 ม.]

 

ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สําหรับรถ

ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สําหรับรถต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงกําหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สําหรับรถ พ.ศ. 2551 ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

รถยนต์ รถจักรยานยนต์
โครงสร้างและตัวดัง ที่มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย และสามารถรองรับการทํางานของรถขณะที่มี น้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้ในทุกสภาพการใช้งาน
เครื่องกําเนิดพลังงาน สามารถขับเคลื่อนรถขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุก ด้วยความเร็วที่เหมาะสมใน สภาพการใช้งานตามปกติ
ระบบส่งกําลัง สามารถส่งกําลังรถขณะที่มี น้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย ระบบส่งกําลัง สามารถส่งกําลังรถขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย และมีอุปกรณ์ป้องกันผู้ขับรถและคน โดยสารไม่ให้ได้รับอันตรายจากการทํางาน เช่น ฝาครอบโช่ หรือบังโซ เป็นต้น
ระบบบังคับเลี้ยว สามารถบังคับรถได้อย่างคล่องตัว สะดวก และปลอดภัย
ระบบห้ามล้อหลักสามารถลดความเร็วหรือ หยุดรถที่วิ่งอยู่ให้หยุดนิ่งได้อย่างปลอดภัย ติดตั้งในตําแหน่งที่ผู้ขับรถสามารถใช้การได้ สะดวก ระบบห้ามล้อขณะจอดสามารถทําให้ รถหยุดนิ่งในขณะจอดได้ ระบบห้ามล้อ สามารถลดความเร็วหรือหยุด รถที่วิ่งอยู่ให้หยุดนิ่งได้อย่างปลอดภัย ติดตั้ง ในตําแหน่งที่ผู้ขับรถสามารถใช้การได้สะดวก
ระบบเชื้อเพลิงหรือระบบพลังงานอื่น สามารถเก็บและส่งเชื้อเพลิงหรือพลังงานอื่นไปยังเครื่องกําเนิด พลังงานให้สามารถขับเคลื่อนรถได้อย่างปลอดภัย

 

กําลังของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถ

กําลังของมอตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถต้องเป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กําหนดกําลังของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2560 ดังนี้

 

รถยนต์ (รถเก๋ง)

น้ำหนักรถน้อยกว่า 450 กิโลกรัม (ไม่รวมน้ำหนักแบตเตอรี่)

รถกระบะขนาดเล็ก

น้ำหนักรถน้อยกว่า 600 กิโลกรัม (ไม่รวมน้ำหนักแบตเตอรี่)

กําลังพิกัดมอเตอร์ไฟฟ้า

ไม่น้อยกว่า 4 กิโลวัตต์

ความเร็วสูงสุด

ไม่น้อยกว่า 45 กม./ ชม.

ติดสติ๊กเกอร์ S

รถยนต์/ รถตู้ รถยนต์กระบะบรรทุกขนาดทั่วไป

 

กําลังพิกัดมอเตอร์ไฟฟ้า

ไม่น้อยกว่า 15 กิโลวัตต์

ความเร็วสูงสุด

ไม่น้อยกว่า 90 กม./ ชม.

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

 

กําลังพิกัดมอเตอร์ไฟฟ้า

ไม่น้อยกว่า 0.25 กิโลวัตต์

ความเร็วสูงสุด

ไม่น้อยกว่า 45 กม./ ชม.

 

โดยต้องมีผลทดสอบที่แสดงถึงความสามารถขับเคลื่อนรถ ในขณะที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกตามที่ผู้ผลิตกําหนดด้วย ความเร็วสูงสุดตามที่กําหนดในประกาศ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ เช่น สถาบันยานยนต์ เป็นต้น

 

ขั้นตอนการจดทะเบียนรถ

รถยนต์ใหม่ที่จะทําการจดทะเบียนผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าจะต้องขึ้นบัญชีกับกรมการขนส่งทางบก และดําเนินการขอรับรองแบบรถกับกรมการขนส่งทางบกก่อนจึงจะสามาดนํารถไปดําเนินการส่งบัญชี รถและผ่านการตรวจสภาพเพื่อดําเนินการจดทะเบียนต่อไปได้

  1. การรับรองแบบส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ ของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

เพื่อให้ส่วนควบและเครื่องอุปกรณของรถยนต์และรถจักรยานยนต์เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลอาศัยอํานาจตามความกฏกระทรวง กําหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สําหรับรถ พ.ศ. 2551 ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศ กําหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ที่ต้องผ่านการรับรองแบบ และกําหนดคุณสมบัติ คุณลักษณะและการติดตั้งสําหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับรองแบบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สําหรับรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ โดยผู้ผลิตรถต้องมีหลักฐานการผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต เช่น มาตรฐาน  IS09001 เป็นต้น เพื่อเป็นการยืนยันว่ารถแบบเดียวกันผลิตที่เดียวกันจะมีคุณภาพและมาตรฐานในการผลิตเหมือนกัน และต้องมีผลทดสอบความเร็วที่กําหนดเป็นเวลา 30 นาที จึงจะสามารถดําเนินการขอรับการรับรองแบบต่อไปได้ ซึ่งปัจจุบัน [พ.ศ. 2561] มีส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ประกาศบังคับใช้แล้ว สําหรับรถยนต์  ไฟฟ้า 3 เรื่อง และ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 3 เรื่อง ดังนี้

  1. การส่งบัญชีรับและจําหน่ายรถ

ผู้ใดสั่งหรือนํารถหรือเครื่องยนต์สําหรับรถเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อจําหน่ายหรือผลิตหรือประกอบรถหรือเครื่องยนต์สําหรับรถขึ้นใหม่เพื่อจําหน่าย ผู้นั้นต้องส่งบัญชีประจําเดือน ในการรับและจําหน่ายรถหรือเครื่องยนต์สําหรับรถให้แก่นายทะเบียนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และเจ้าของรถต้องแสดงถึงแหล่งที่มาของรถสามารถแบ่งได้ 2 ส่วนหลัก คือ
1. รถนําเข้ามาใช้งานในราชอาณาจักรจะต้องมีหลักฐานการนําเข้าได้แก่ ใบรับ รองการนําเข้าจากกรมศุลกากร (แบบ 32) สําเนาใบขนส่งสินค้าขาเข้าบัญชีแสดงรายการสินค้า และใบเสร็จรับเงินอากรขาเข้า
2. รถผลิตภายในประเทศจะต้องมีหลักฐานหนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรถ

  1. การตรวจสภาพ

เมื่อแบบรถที่ต้องการจดทะเบียนได้รับการรับรองและส่งบัญชีเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถนํารถค้นที่ต้องการจดทะเบียนเข้ารับการตรวจสภาพต่อไปได้ ซึ่งในขั้นตอนการตรวจสภาพนี้ เจ้าหน้าที่จะทําการตรวจสอบ หมายเลขระบบส่งกําลัง หมายเลขตัวถัง ลักษณะ ขนาด สัดส่วน ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายว่าด้วยรถยนต์กําหนด ซึ่งเป็นไป ตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการตรวจสภาพรถและ  เกณท์การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วย รถยนต์ พ.ศ. 2555

  1. ดําเนินการจดทะเบียน

1) ยื่นแบบคําขอจดทะเบียนรถที่กรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้ยื่นคําขอเรียบร้อยพร้อมหลักฐาน

2)นํารถเข้ารับการตรวจสภาพ ได้ที่งานตรวจสภาพรถยนต์ สํานักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 และสํานักงาน ขนสงจังหวัดทั่วประเทศ

3) ยื่นขอตัดบัญชีรถ ที่ส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์

4) ชําระค่าธรรมเนียมและค่าภาษีประจําปี ที่งานทะเบียนรถ

 

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากเครื่องยนต์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงมอเตอร์ไฟฟ้า

รถที่เคยจดทะเบียนไว้แล้ว และมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากเครื่องยนต์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงมอเตอร์ไฟฟ้า ให้เจ้าของรถยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ประกอบคําขอการถําเนินการทางทะเบียนและภาษีรถด้วย โดยมีเงื่อนไขการพิจารณา ดังนี้

     1.หนังสือรับรองของวิศวกร ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าตามขอบเขตและความสามารถที่กฎหมายว่า ด้วยวิชาชีพวิศวกรรมกําหนด รับรองว่ารถมีความมั่นคงแข็งแรง มีความปลอดภัยในการใช้งานและรับรองความปลอดภัย ของระบบไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1) รายละเอียดการออกแบบหรือดัดแปลงพร้อมรายการคํานวณที่แสดงถึงคุณลักษณะของรถ การติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ที่ใช้ขับเคลื่อน รวมถึงระบบเบรก ระบบบังคับเลี้ยว การกระจายน้ำหนักรถ ระบบส่งกําลังและสมรรถนะของรถ

2) กําลังพิกัดมอเตอร์ไฟฟ้า

3) ขนาดแรงเคลื่อนและความจุของแบตเตอรี่

4) น้ำหนักรถไม่รวมแบตเตอรี่ น้ำหนักแบตเตอรี่ รถรวมแบตเตอรี่ น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก

5) ความเร็วสูงสุด

6) ระยะทางที่วิ่งได้ โดยแสดงการคํานวณความสัมพันธ์  กันระหว่างขนาดมอเตอร์ไฟฟ้า และความจุแบตเตอรี่ แปรนั้นมา เป็นความเร็วและระยะทางที่ทําได้

7) วงจรการควบคุมระบบไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์  รวมถึงลักษณะและขนาดของสายไฟที่ใช้ในระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสม ไฟฟ้า

  1. ผลทดสอบที่แสดงถึงความสามารถขับเคลื่อนรถในขณะที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกตามที่ผู้ผลิตกําหนดด้วยความเร็วสูงสุดตามที่กําหนดในประกาศกรมการขนส่งทางบก   เรื่อง กําหนดกําลังของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถตามกฎหมาย ว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560 ได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 30 นาที จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกยอมรับ  น้ำหนัก เช่น สถาบันยานยนต์ เป็นต้น

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากเครื่องยนต์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงมอเตอร์ไฟฟ้า ต้องมีการพิจารณาควบคู่กับระเบียบการตรวจสภาพและระเบียบการถัดแปลงรถด้วย

 

จดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เหมือนหรือแตกต่างจากรถยนต์ทั่วไปอย่างไร

ค่าจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าจะต่างจากรถยนต์ทั่วไป ในการถำเนินการจดทะเบียนกรณีรถเก๋ง กระบะ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้า ต้องจัดเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีประจำปีในอัตรา ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียม ได้แก่ คำขอ 5 บาท, ค่าแผ่นป้ายทะเบียน แผ่นละ 100 บาท  2 แผ่นป้ายรวมเป็น 205 บาท และค่าใบคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท และค่าตรวจสภาพ 50 บาท รวมทั้งหมด 355 บาท
  • อัตราชำระภาษี ค่าจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าจะต่างจากรถยนต์คือ รถยนต์ทั่วไปเป็นการจัดเก็บตามความจุกระบอกสูบรวมกันของเครื่องยนต์ของรถยนต์แต่ละคัน แต่รถยนต์ไฟฟ้า จะจัดเก็บภาษีตาม น้ำหนักรถ และลดกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนด

 ปัจจุบันต้องมีการติดสติ๊กเกอร์แสดงท้ายรถยนต์หรือไม่อย่างไรเพราะอะไร

ให้รถยนต์ไฟฟ้าติดเครื่องหมายตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (พื้นเครื่องหมายเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีน้ำเงินเข้ม ปรากฏข้อความ “รถขนาดเล็ก S” สีขาวสะท้อนแสง) เพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นรถขนาดเล็กที่ใช้พลังงานไฟฟ้า

 

ที่มา กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)